top of page

ขั้นตอนส่งไฟล์เข้าโรงพิมพ์

การทำขอบตัดตก - เตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์ Illustrator CS5

การเซฟไฟล์ PDF ก่อนส่งโรงพิมพ์

 

ให้ไปที่คำสั่ง File> Save As...  เลือกนามสกุลของไฟล์งานที่จะเซฟเป็น  .pdf  เสร็จแล้วก็กดปุ่ม  Save PDF แค่นี้ก็เสร็จแล้วล่ะค่ะ

 

กรณีที่ save จากโปรแกรม Acrobat PDF

  • ควรเลือก ความละเอียดของไฟล์ PDF อย่างน้อย 300 dpi  และ 600 dpi กรณีที่มีภาพ

  • เพื่อขอบตัดตก ประมาณ 5 มม. 

  • รูปแบบอักษรทั้งหมด ( เลือก "embed all fonts" )

 

ในการจัดทำไฟล์หนังสือที่จะพิมพ์ กับเครื่องพิมพ์ระบบดิจิจตอล จะต้องส่งไฟล์ให้กับโรงพิมพ์ในรูปแบบ ไฟล์ที่ Create PDF เช่นจากโปรแกรม Adobeไฟล์ PDF  ที่มีความเป็นอิสระของแพลตฟอร์มระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในการสร้างไฟล์ต้นฉบับจะเสร็จสมบูรณ์และมีขนาดเล็กลงและสามารถดูได้บน Windows, Macintosh และ Unix 

 

บนพื้นฐานของการถ่ายภาพแบบ PostScript ®, ไฟล์ PDF, นอกจากจะเป็นความยืดหยุ่นข้ามแพลตฟอร์มที่มันสามารถที่จะทำซ้ำอย่างถูกต้องเอกสาร จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในแบบอักษร รูปแบบการจัดภาพและกราฟิกต่างๆ  นอกจากนี้ยังช่วยช่วยลดความเสี่ยง ความผิดพลาดต่างๆ ผลงานพิมพ์ที่ออกมาจะตรงกับไฟล์งานของลุกค้ามากที่สุด และการพิมพ์บนจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ช่วยลดความเสี่ยงของความผิดพลาดต่างๆได้

Acrobat PDF: การเตรียมไฟล์หนังสือที่พร้อมพิมพ์ดิจิตอล
 
Graphic Design สำหรับงานพิมพ์
 

การออกแบบกราฟิก สามารถทำได้ในหลายโปรแกรมค่ะ เช่น Illustrator, InDesign, Photoshop หรือรวมไปถึงการ Painting ในโปรแกรมต่างๆ นักออกแบบรุ่นใหม่ส่วนมากจะคุ้นเคยกับการออกแบบกราฟิกเพื่อนำเสนอผลงานผ่านทางเว็บไซด์ แต่ทว่าในขั้นตอนการนำเสนอผลงานออกมาทางหมึกพิมพ์ มันไม่ใช่แค่การออกแบบเพื่อความสวยงามอย่างเดียวเท่านั้น นักออกแบบกราฟิกจะต้องมีความรู้พื้นฐาน ถึงการเตรียมไฟล์งานก่อนการพิมพ์ เพื่อให้ผลงานออกมาเป็นผลงานที่สวยงามสมบูรณ์แบบด้วย

 

 

การตั้งค่า Bleed ตอนสร้างไฟล์

 

 

ให้ไปที่คำสั่ง File> New..  

ให้กำหนดค่า Bleed ทุกด้านที่ 3 mm  เป็นค่ามาตราฐานทั่วไปสำหรับทุกโรงพิมพ์ กำหนดสีให้เป็น CMYK ค่าความละเอียดจุดสีให้อยู่ที่ HIGH 300 ppi

สำหรับคนที่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเป็นสี CMYK ให้เข้ามาศึกษาประเภทของสีที่บทความนี้ก่อนค่ะ การตั้งค่าสีสำหรับการพิมพ์

พอกดปุ่ม OK แล้วก็จะได้ออกมาเป็นดังภาพข้างล่างค่ะ

 

 

 

การตั้งค่า Bleed จากไฟล์เดิม

 

สำหรับคนที่ไม่มีตั้งค่า Bleed หรือเผื่อค่าตัดตกเอาไว้ตั้งแต่เริ่ม หรือตั้งไว้น้อยเกินไปอยากจะเพิ่มอีก ก็สามารถตั้งค่า Bleed ทีหลังได้เช่นกันค่ะ 

โดยให้คลิกที่ปุ่ม >> Document >> Setup แล้วตั้งค่า Bleed ที่ต้องการลงไป

 

 

การทำเส้น margin


การแนวเส้น margin ปกติจะใช้เส้น guide ทำซึ่ง มี 2 วิธีด้วยกันค่ะ 
วิธีแรกคือ 
 

   การดึงเส้นไกด์มาจากแถบ Rulers  

   ให้ไปที่คำสั่ง View> Rulers > Show Rulers
   คลิกเม้าส์ขวาที่เส้นบรรทัด เพื่อเชคดูว่ามีหน่วยเป็น mm หรือเปล่า
   จากนั้นก็ให้เอาเม้าส์ดึงเส้นเส้นบรรทัดออกมาวางตามมุมต่างๆ ดังภาพข้างล่างค่ะ

   ให้ห่างจากเส้นสีดำประมาณ 3-5 mm
   เมื่อครบทั้ง 4 มุมแล้วก็ให้คลิกขวาที่เส้น เลือกคำสั่ง Lock Guides



   การเปลี่ยนวัตถุสี่เหลี่ยมให้เป็นเส้นไกด์

   ตัวอย่างเช่น ภาพงานที่ทำไว้ มีขนาด 40x140 mm, เราต้องการ margin ให้เข้า

   มาจากขอบกระดาษด้านละ 5 mm ก็ให้คลิกเลือเครื่องมือ Rectangle Tool

   และคลิกเม้าส์ 1 ครั้งบนพื้นงาน กำหนดค่าให้ลบจากขนาดพื้นที่จริงไปด้านละ 5 
   พอกด OK แล้วก็ลากสี่เหลี่ยมมาวางตรงกลาง และคลิกขวาที่กรอบเลือกคำสั่ง >>

   Make Guides
   ภาพเส้นไกด์ที่ได้ ซึ่งเราจะใช้ทำเป็นเส้นแนว  Margin (Safety Area)ค่ะ 
   ในส่วนของการออกแบบ  โดยปกติภาพส่วนที่ยื่นเกินเส้นขอบเขตงาน (สีดำ) ออกไป

   จะถูกตัดทิ้งทั้งหมดค่ะ แต่บางครั้งทางโรงพิมพ์ก็ตัดไม่ถึงเส้นดำ เพื่อไม่ให้มีขอบขาว

   เกิดขึ้น ทางที่ดีเราควรวางงานให้จรดเส้น Bleed (เส้นสีแดง) พอดีทุกครั้ง ทุกด้าน

 

 



***อีกเรื่องค่ะที่ไม่ควรมองข้ามนะค่ะ เมื่อตรวจทานความถูกต้องของตัวอักษรทุกตัวเรียบร้อยแล้ว ก่อนเซฟงานส่งเข้าโรงพิมพ์เราควรเปลี่ยน Text ทุกตัวในชิ้นงานให้เป็นวัตถุก่อนค่ะ โดยให้เลือกที่ Text คลิกขวาเลือกคำสั่ง  Create Outlines

 

การตั้งค่าสีสำหรับการพิมพ์

หากผลงานของเราที่วาดขึ้นจะถูกนำออกมาแสดงโชว์แค่เพียงในเว็บ จอโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ นั้นก็คงไม่มีปัญหาอะไรในการกำหนดค่าสี แต่ถ้าเกิดวันนึง... มีคนมาจ้างเราวาดภาพประกอบหนังสือ หรือทำภาพสื่อสิ่งพิมพ์ให้ล่ะ จะทำยังไง? 
 

เส้นไกด์สำหรับงานพิมพ์

ในส่วนภายในชิ้นงานพิมพ์ของเรา จำเป็นต้องตั้งค่าเส้นไกด์ต่างๆ เรามาทำความเข้าใจ ถึงขอบเขต ความหมายของเส้นสีต่างๆ แต่ละชั้นกัน 
 

  • ​การทำไฟล์งานส่งโรงพิมพ์ด้วยโปรแกรม Illustrator

  • การทำไฟล์งานส่งโรงพิมพ์ด้วยโปรแกรม Photoshop

  • การทำไฟล์งานส่งโรงพิมพ์ด้วยโปรแกรม InDesign

  • ปัญหาตัวอักษร “L” / ไม้เอก / สระเอ หนากว่าปกติ ในไฟล์ PDF

  • เตรียมไฟล์อย่างไรถึงจะเหมาะกับงานพิมพ์

  • Vibrance กับ Saturation ต่างกันอย่างไร

  • การเตรียมไฟล์เพื่องานพิมพ์

  • ประเภทของฟอนต์ (Type of Font)

  • พื้นที่และขนาดของ Artwork (Space and Dimensions)

  • เรื่องยุ่ง ๆ ของฟอนต์ใน Artwork

 

TESTIMONIALS

LAURA & JOHN
8/9/23

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. It’s easy. Just click “Edit Text” or double click me and you can start adding your own content and make changes to the font. Feel free to drag and drop me anywhere you like on your page. I’m a great place for you to tell a story and let your users know a little more about you.

AMY & DAVID
6/15/23

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. It’s easy. Just click “Edit Text” or double click me and you can start adding your own content and make changes to the font. Feel free to drag and drop me anywhere you like on your page. I’m a great place for you to tell a story and let your users know a little more about you.

SPONGE PRINTING

graphic & design

AS SEEN IN

Creative

Book

  • Facebook Round
  • Twitter Round
  • Google Round
  • YouTube Round

LIKE US ON FACEBOOK

 

FOLLOW US ON TWITTER

 

WATCH US ON google+

 

SUBSCRIBE US ON youtube

เรามีเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อรองรับการผลิตงานพิมพ์ครบวงจร พร้อมให้คำแนะนำแก่ลูกค้าทุกท่าน

VISIT OUR BLOG

Capture It

© Copyright 2013 - โรงพิมพ์หนังสือด่วน , พิมพ์ดิจิตอล , โรงพิมพแบบครบวงจร
โทรศัพท์ 02-001-1549  แฟกซ์ 02-001-5283  
สงวนลิขสิทธิ์ - โรงพิมพ์สปันจ์พริ้นติ้ง www.spongeprinting.com

bottom of page